พระไตรปิฏกฉบับมจร. เล่มที่ 1 หน้าที่ 9

@vinayo

พระไตรปิฏกฉบับมจร. เล่มที่ 1 หน้าที่ 9

ต่อมา พวกพ่อค้าม้าชาวเมืองอุตตราบถ มีม้าอยู่ประมาณ ๕๐๐ ตัว เข้าพัก แรมช่วงฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาตระเตรียมข้าวนึ่ง เพื่อถวายพระภิกษุรูปละ ประมาณ ๑ ทะนานไว้ที่คอกม้า รุ่งเช้า ภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวรไปบิณฑบาตในเมืองเวรัญชา บิณฑบาตไม่ได้เลย จึงไปที่คอกม้า รับข้าวนึ่งรูป ละประมาณ ๑ ทะนาน นำไปตำให้ละเอียดแล้วฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวนึ่งประมาณ ๑ ทะนานบนหินบดแล้วน้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยข้าวนั้น

พุทธประเพณี


พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับเสียงครก พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลอันควร ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัส ถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถามเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้า ทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทั้งหลายสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรม อย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระอานนท์มารับสั่งถามว่า “นั่นเสียง ครกใช่ไหม อานนท์”

พระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ

“อานนท์ ดีแล้วๆ พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะได้เด็ดขาดแล้ว ข้าวสาลีเจือ ด้วยเนื้อเพื่อนพรหมจารีในภายหลังจะพากันดูหมิ่น”

๑ ปูลกํ นาม นิตฺถุสํ กตฺวา ฯเปฯ ที่ชื่อว่า ข้าวนึ่ง ได้แก่ ข้าวสารเหนียวที่เอาแกลบออกแล้วนึ่งเก็บไว้ จะ เรียกว่า ข้าวตาก ก็ได้ พวกพ่อค้านิยมนำติดตัวไปในเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง เพื่อเป็นอาหารม้า ในถิ่นที่อาหารม้าหายาก (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๗๙)
๒ ในอนาคต เพื่อนพรหมจารีในภายหลัง เช่นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จักดูหมิ่นข้าวสุกเจือด้วยเนื้อที่ เขาถวายเพราะความเลื่อมใสในข้อปฏิบัติของพวกเธอ ซึ่งทำได้ยากที่เมืองเวรัญชา (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๔-๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๑๖/๕๓๙)