พระไตรปิฏกฉบับมจร. เล่มที่ 2 หน้าที่ 4

@vinayo

พระไตรปิฏกฉบับมจร. เล่มที่ 2 หน้าที่ 4

สิกขาบทวิภังค์


{๓} [๔๖๓] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุเสร็จแล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามาเย็บ เป็นจีวร

คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใด อย่างหนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง

คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก

ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ

๑ มาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๘ ประการ คือ (๑) ปักกมนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุ หลีกไป ไม่คิดจะกลับ (๒) นิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตัดเย็บ จีวร ไม่คิดจะกลับ (๓) สันนิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตกลงใจ จะไม่ตัดเย็บจีวร และไม่คิดจะกลับ (๔) นาสนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา ตัดเย็บเป็นจีวร ไม่คิดจะกลับ ผ้าที่ตัดเย็บเป็นจีวรเสียหายไป (๕) สวนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการ ที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา คิดว่าจะกลับ ตัดเย็บจีวรเสร็จแล้วได้ฟังข่าวว่า กฐินในวัดของตนเดาะเสียแล้ว (๖) อาสาวัจเฉทิกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไปนอกสีมาด้วยหวังว่าจะได้ผ้า รอคอยผ้าจนหมด หวัง (๗) สีมาติกกันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่นอกสีมา คิดจะกลับ แต่ อยู่นอกสีมาจนกระทั่งกฐินเดาะ (๘) สหุพภารา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่ นอกสีมาคิดว่า จะกลับ จะกลับ แต่สงฆ์ในวัดของตนพร้อมใจกันเดาะกฐินเสียก่อน (วิ.ม. ๕/๓๑๐/๙๕)
๒ สงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง คือสงฆ์กรานกฐินแล้ว ยังไม่พ้นเขตจีวรกาล มีทายกต้องการจะถวายอกาลจีวร มาขอให้สงฆ์เดาะกฐิน คือยกเลิกอานิสงส์กฐินในระหว่างจีวรกาล (ก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน) พระพุทธ องค์ทรงอนุญาตให้เดาะกฐินได้ (วิ.ภิกขุนี. ๓/๙๒๕/๙๒๖/๑๒๑/๑๒๒)
๓ อธิษฐาน คือการตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิด นั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร วิธีอธิษฐาน ใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาก็ได้ (วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑, วิ.อ. ๒/๔๖๙/๑๔๗)
๔ เรื่องเดียวกัน คำว่า วิกัป คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือขอให้ภิกษุสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่ วิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้จะเก็บไว้เกินกำหนด
๕ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ (จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ (จีวรผ้าไหม) กัมพละ (จีวร ผ้าขนสัตว์) สาณะ (จีวรผ้าป่าน) ภังคะ (จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒)